Tag: architecture
NEW STUDIO MITI
ชมโฉมหน้าออฟฟิศใหม่ของสตูดิโอมิติ หลังจากย้ายที่ทำการมาในซอยลาดพร้าว 71 ซึ่งยังคงกลิ่นอายของงานคราฟต์และเต็มไปด้วยดีเทลที่ไม่เหมือนใคร เริ่มต้นจากการเฟ้นหาวัสดุที่สวยงามแม้ไม่ต้องทาสี
URBAN FARMING OFFICE
อาคารในนครโฮจิมินห์ ซิตี้ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ‘สวนแนวตั้ง’ ตามเทรนด์ทั่วไป ทว่าเป็น ‘ฟาร์มแนวตั้ง’ ที่ VTN Architects ตั้งใจทดลองเพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองในหลากหลายมิติ
CAFÉ AMAZON: EXPLORING CONSTRUCTION TECHNIQUE
เรียนรู้การทดลองเทคโนโลยีในการก่อสร้างที่ Café Amazon ใช้ ตั้งแต่การใช้ระบบโมดูล่าร์ Concrete 3D Printing รวมถึงการผนวกแนวคิดรักษ์โลกอย่าง Circular Economy
PHOTO ESSAY : FISH AND CHIPPERFIELD
TEXT & PHOTO: KARJVIT RIRERMVANICH
(For English, press here)
David Chipperfield บอกว่า “Good architecture provides a setting, It’s there and it’s not there.” มันทั้งอยู่ตรงนั้น และก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้น งานของเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ และถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนบนอาคารเหล่านี้ ผมคิดว่ามันคือเส้นที่บางเหลือเกินเส้นหนึ่ง ที่แบ่งอยู่ระหว่างความเหนือชั้นกับความดาษดื่นธรรมดาๆ
The Hepworth Wakefield, Wakefield
Turner Contemporary, Margate
One Pancras Square, London
_____________
กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ เป็นบรรณาธิการ art4d เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Physicalist และเป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย
IDENDROPHILE 54 PHASE 2
ที่พักเล็กๆ สำหรับเสพทิวทัศน์และดูดาวเหนือยอดไม้บนภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความรักต่อกิจกรรมพักผ่อนแบบ outdoor และ camping ของเจ้าของและสำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์
CAFÉ AMAZON: UNPACKING THE DESIGN
art4d พาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ‘รสชาติ’ ของแบรนด์กาแฟไทยแบรนด์นี้ในเชิงการออกแบบ ผ่านคอนเซ็ปต์ Taste of Nature ซึ่งร้อยเรียงบรรยากาศของแต่ละสาขาไว้ด้วยกัน
ASA 2023 HUMAN LIBRARY
เรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านการพูดคุยกับ ‘หนังสือมนุษย์’ ในงานสถาปนิก’66 จาก 4 สาขาวิชาชีพทั้ง สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม และผังเมือง พร้อมทั้งพบปะเหล่า Influencer มากความสามารถจากสาขาอื่นๆ ไปพร้อมกัน Read More
QSNCC : A TOUR WITH ONION
art4d ชวน onion มาเผยถึงเบื้องหลังการออกแบบภายในทุกซอกทุกมุมของ ‘ศูนย์ประชุมแห่งชาติ’ แห่งนี้ ที่มีโจทย์สำคัญคือการเป็นหน้าตาของประเทศ การเป็นหอประชุมระดับนานาชาติ และการถ่ายทอดความเป็นไทยร่วมสมัยไปพร้อมๆ กัน
SEAM DESIGN & ARCHITECTS
TEXT & PHOTO COURTESY OF SEAM DESIGN & ARCHITECTS EXCEPT AS NOTED
(For English, press here)
WHO
Seam Design & Architects
WHAT
บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและบริบท ทั้งภายนอกและภายใน Seam หรือที่แปลว่า ‘รอยต่อ’ นี้ สำหรับเราเชื่อว่าไม่ใช่เพียงรอยต่อของสิ่งที่จำต้องได้ในงานสถาปัตยกรรม เช่น วัสดุ หรือ พื้นที่อย่างเดียว แต่เชื่อว่ายังหมายถึงรอยต่อของสิ่งที่จับต้องไม่ได้อื่นๆ ที่สำคัญต่องานสถาปัตยกรรมด้วย
WHEN
เริ่มทำงานสถาปนิกมาตั้งแต่ปี 2014 จนปี 2020 ที่ก่อตั้งบริษัทด้วยชื่อ Seam อย่างเป็นทางการ
WHERE
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
WHY
เพราะเชื่อว่าสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ออกแบบโดยมนุษย์ สร้างมาเพื่อมนุษย์ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน
คุณนิยามคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์ คือจุดสูงสุดและการตกผลึกจากกระบวนการของความรู้ การเป็นจุดเริ่มต้นของความใหม่บางอย่าง และความเป็นต้นแบบ
อะไรคือแรงบันดาลใจและหลักการในการทำงานแต่ละครั้งของคุณ
อาจารย์ที่เคารพสมัยเรียนท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า สถาปัตยกรรม เป็นมากกว่าแค่งานที่เห็นเป็นรูปธรรม แต่มีมิติอื่นที่เป็นนามธรรมร่วมอยู่ด้วยเสมอ และอาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่ได้สิทธิที่ในการเริ่มต้นสร้างสิ่งดังกล่าวนี้ ซึ่งสำหรับผมคิดว่า เป็นแรงบันดาลใจอย่างมากที่ได้รับเกียรตินั้น คือ เกียรติของการเป็นผู้สร้าง
ขอสามคำเพื่ออธิบายหลักการในการทำงานของคุณ
คน I ธรรมชาติ I สิ่งที่อยู่ตรงกลาง
โปรเจ็คต์ใดที่คุณชอบมากที่สุด
ภูมิใจทุกงาน แต่อาจจะเป็นในจุดต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน ด้วยประเด็นที่น่าสนใจแตกต่างกัน
คุณจะไปที่ไหนหรือทำอะไร หากคิดงานไม่ออก
เปิดหนังสือที่สะสมไว้ ตีเทนนิส ท่องเที่ยว พูดคุยกับผู้คน เพราะบางครั้ง การที่ได้ถอยห่างจากงานบ้าง อาจจะช่วยทำให้เห็น ภาพกว้างหรือมุมของงานที่กำลังทำอยู่ด้วยหัวสมองที่ปลอดโปร่งมากขึ้น
มีสตูดิโอ ดีไซเนอร์ ครีเอทีพไหนที่คุณชื่นชอบผลงานเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า
Louis Kahn และ Kerry Hill เป็นสองท่านที่มีอิทธิพลทางความคิด และงานออกแบบสถาปัตยกรรมของเราอย่างมาก
สำหรับคำถามข้อสุดท้าย เราเปิดพื้นที่ให้คุณได้แนะนำตัวกับคนที่อยากรู้จักคุณมากขึ้น
พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกขนาดย่อม ที่พยายามสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ตอบรับความต้องการของผู้คน จากความถนัด ความสามารถและประสบการณ์ มาปรับใช้ให้ได้เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเชื่ออย่างยิ่งว่า สถาปัตยกรรม จะเป็นรอยต่อ เชื่อมประสาน และสร้าง คุณค่าบางอย่างสำหรับคนไม่มากก็น้อย