All posts by Ratchadaporn Hemjinda

DOC CLUB & PUB.

เปิดเบื้องหลังทั้งที่มาที่ไปและแนวคิดในการดีไซน์ของ Doc Club & Pub. โรงหนังและสเปซพบปะของคนรักภาพยนตร์ กับ สุภาพ หริมเทพาธิป หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Documentary Club และ รชพร ชูช่วย สถาปนิกจาก all(zone)

Read More

PHOTO ESSAY : BANGKOK DEEMED

TEXT & PHOTO: CHATCHAVAN SUWANSAWAT

(For English, press here)

ตั้งแต่เด็กจนโต เราอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แบบที่ว่าไม่ได้เคยย้ายไปไหน ตอนเด็กเราถูกเลี้ยงไว้แบบไข่ในหินไม่ให้ออกนอกบ้าน จนกระทั้งเติบใหญ่กลายเป็นว่าปมในวัยเด็กนั้น สร้างความเก็บกดที่อยากจะออกเดินดูกรุงเทพฯ ให้ได้มากที่สุดในวัยผู้ใหญ่ 

ปัจจุบันการได้ออกเดินในช่วงหยุดสุดสัปดาห์นั้นเป็นความสนุกตื่นเต้นและเสพติด เราชอบเดินไปเรื่อยๆ มีจุดหมายบ้างไม่มีบ้าง และมันนำเราไปสู่พื้นที่และสิ่งของที่แปลกตา ที่ล้วนเกิดจากผู้คนรวมถึงต้นไม้ใบหญ้าที่ประกอบเข้าด้วยกันแบบไม่ตั้งใจ และต่างดิ้นรนให้มีชีวิตต่อไปอยู่ในเมืองที่ผู้คนคิดว่ารักและเกลียดนี้

_____________

ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ เป็นสถาปนิกและนักเขียน (บ้างไม่เขียนบ้าง) ผู้เขียนหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ ที่พูดถึงความไทยๆ ผ่านสิ่งของงานออกแบบของผู้คนในเมือง ปัจจุบันก่อตั้ง Everyday Architect & Design Studio เพื่อทำงานสถาปัตย์ที่เกี่ยวข้องความสนใจเรื่องไทยๆ 

facebook.com/everydayarchitectdesignstudio
facebook.com/viewtiful.chat
instagram.com/chutcha_crowbar

THE SETARA

ชาตรี ประกิตนนทการ สตูดิโอ HUES development และสิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ ร่วมกันรื้อฟื้นคุณค่าของสถาปัตยกรรมคณะราษฎรที่ถูกหลงลืม ผ่าน The Setara โปรเจ็คต์บ้านพักตากอากาศในอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

Read More

MKM MUSEUM KÜPPERSMÜHLE EXTENSION

หลังเคยฝากผลงานการปรับปรุงโรงงานสีข้าวเก่าให้เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ MKM Museum Küppersmühle ไปแล้วในปี 1999 ล่าสุด Herzog & de Meuron กลับมาต่อเติมพื้นที่จัดแสดงเพิ่มเติมให้กับพิพิธภัณฑ์อีกครั้ง ภายใต้แนวคิดการรักษาสมดุลระหว่างของใหม่และของเก่า 

Read More

CITIZEN TEA CANTEEN OF NOWHERE

Citizen Tea Canteen of nowhere โชว์รูมสินค้าหัตถกรรมกึ่งโรงน้ำชาสไตล์โกปิ๊โดย ศรัณย์ เย็นปัญญา ที่เป็นดั่งตัวกลางเชื่อมงานออกแบบและชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมหยิบยืมวัฒนธรรมไทย-จีนเก่าแก่มาปัดฝุ่นอีกครั้ง

Read More

KEEP IN THE DARK

ตะวัน วัตุยา บันทึกเรื่องราวของบุคคลผู้พยายามทั้งคำถามกับระบบ อุดมการณ์ อคติ แต่ก็ถูกทำให้หลงลืม ในนิทรรศการ KEEP IN THE DARK จัดแสดงที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมี กฤษฎา ดุษฎีวนิช เป็นภัณฑารักษ์

Read More

SCG D’COR – REVOLUTIONIZING THE INDUSTRY

ทำความรู้จักกับวัสดุจาก SCG D’COR แบรนด์วัสดุตกแต่งฟาซาดทางเลือกจากเอสซีจี ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์หลากหลายซึ่งตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งานและความงาม

Read More

THE VISIONS | SCOPE LANGSUAN

เพื่อสร้างให้ SCOPE Langsuan เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในระดับสากล ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCOPE Co., Ltd. ร่วมงานกับสถาปนิกและสตูดิโอออกแบบภายในระดับโลกอย่าง Kohn Pedersen Fox (KPF) and the Thomas-Juul Hansen ในการออกแบบโครงการ

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO: KETSIREE WONGWAN EXCEPT AS NOTED

(For English, press here)

ความหรูหราดูเหมือนจะเป็นเครื่องบอกถึงความสำเร็จและเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตของคนในทุกยุคสมัย แต่แท้จริงแล้วความหรูหรานั้นหมายความว่าอย่างไรกันแน่ หากมองอย่างผิวเผิน เราอาจพบว่าความหรูหรานั้นมีที่มาที่สืบเนื่องมาจากความเป็นวัตถุนิยม นับเป็นเวลากว่ายาวนานร่วมหลายศตวรรษของการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยที่ความหรูหราปรากฏในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่า ความหายาก นวัตกรรม การแสดงออกถึงความมั่งคั่ง ไปกระทั่งความน้อยหรือความเรียบง่ายอย่างสุดขั้ว นิยามเหล่านี้แตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ก็ล้วนเกี่ยวพันอยู่กับการได้เป็นเจ้าของสิ่งสวยงามราคาแพง อย่างไรก็ตาม นิยามของความหรูหราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยได้ค่อยๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การแสดงออกถึงความมั่งคั่งด้วยสิ่งของราคาแพงเพียงอย่างเดียวอาจเป็นตัวแทนของความหรูหราที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว มุมมองต่อความหรูหราในปัจจุบันได้ปลดเปลื้องตัวเองออกจากการให้ความสำคัญต่อวัตถุ ไปสู่แนวคิดอย่าง ‘luxury essentialism’ ที่หมายถึงการให้คุณค่ากับสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นการเติมเต็มชีวิตด้วยสิ่งของที่มีความหมายและการใช้สอยที่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงและมีความสุขเป็นสำคัญ อาจจะดูตื้นเขินเกินไปหากเราจะสรุปว่าความปรารถนาของมนุษย์ต่อวัตถุนั้นได้หมดลง หากแต่แนวคิดของผู้คนในยุคสมัยปัจจุบันที่มีต่อความสมดุล และการจัดลำดับความสำคัญในชีวิต กำลังมีการเปลี่ยนผ่านจากการมองหาความหรูหราผ่านรูปลักษณ์ภายนอกและป้ายราคา ไปสู้การห้อมล้อมตัวเองด้วยงานออกแบบและสิ่งของที่สร้างขึ้นอยางพิถีพิถัน ที่ตอบสนองต่อทุกแง่มุมของกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ แก่นแท้ดังกล่าวคือวิสัยทัศน์และความคิดเบื้องหลังการก่อร่างสร้างตัวของ SCOPE Langsuan

Yongyutt Chaipromprasith

ท่ามกลางตลาดโครงการอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากในกรุงเทพฯ ที่มีผลิตภัณฑ์อันหลากหลายพร้อมตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนทางเศรษฐกิจนั้น ช่องว่างในเรื่องของคุณภาพเป็นสิ่งที่ SCOPE Langsuan มุ่งหมายที่จะเป็นหนึ่งในโครงการแรกๆ ที่จะเข้ามาเติมเต็ม ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCOPE Co., Ltd. เจ้าของวิสัยทัศน์ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญของ SCOPE Langsuan กล่าวว่าเราตั้งใจสร้างโครงการนี้ขึ้นมาอย่างพิถีพิถันที่สุด บนนิยามของความหรูหราเฉพาะตัวที่เจ้าของบ้านจะได้อยู่อาศัย เราเชื่อว่านี่คือกลุ่มคนที่ให้ความใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยในฐานะสิ่งที่มีความหมายสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของชีวิต นอกเหนือไปจากแง่มุมอื่นๆ ที่พวกเขาให้ความสำคัญและต้องการลงทุนกับมัน พวกเขามีมุมมองที่กว้างไกล ได้เห็นโลกมาเยอะ และมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เราคิดว่าเรากำลังสร้างโครงการนี้ให้กับกลุ่มเจ้าของบ้านที่เรานิยามว่า ‘The International Premium’ ผมเชื่อว่าสำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านที่ถูกสร้างขึ้นอย่างประณีตและเต็มไปด้วยรายละเอียดของความใส่ใจคือสิ่งพื้นฐานสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งของชีวิตคำกล่าวที่ว่าโยงใยอย่างใกล้ชิดอยู่กับโลกในปัจจุบัน ที่การเข้าถึงข้อมูลปริมาณมหาศาลไม่รู้จบของผู้คนได้สร้างมาตรฐานของความเป็นสากลหรือความ international ขึ้นมาใหม่ พวกเขาไม่ได้เปรียบเทียบสิ่งที่พวกเขากำลังจะซื้อกับผลิตภัณฑ์ที่หาได้ภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นในระดับสากล และประสบการณ์จากการมองเห็นโลกก็สร้างการรับรู้ด้วยตัวเองต่อสิ่งที่พวกเขาจะลงทุนไปกับมัน ความหรูหราในที่นี้จึงหมายถึงการได้เป็นเจ้าของสิ่งที่มีมาตรฐานระดับสากล ที่คุณภาพ ความสมเหตุสมผล การใช้งาน ความสะดวกสบาย และประสบการณ์เชิงสุนทรียะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และสามารถที่จะเติมเต็มความต้องการด้านการใช้สอยและอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของบ้านได้อย่างครอบคลุม

Thomas Juul-Hansen

แน่นอนว่าเมื่อเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัย ทำเลยังคงเป็นและจะยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งเสมอ และหลังสวนก็เป็นพื้นที่ในอุดมคติที่จะผลักดันให้วิสัยทัศน์นี้สมบูรณ์แบบ สถานะของหลังสวนในแง่ของความเป็นทำเลที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงที่สุดไม่ได้เป็นเพียงเพราะมันตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่สามารถเข้าถึงกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดายเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะหลังสวนเป็นทำเลหายากที่ยังคงความเงียบสงบ แม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชั้นในที่หนาแน่นและวุ่นวาย แต่ก็ยังคงสามารถหยิบยื่นสุขภาวะทางอารมณ์ให้ผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ SCOPE Langsuan นั้นตั้งอยู่บนที่ดิน freehold ที่ผู้ถือครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการและหาได้ยากยิ่งในพื้นที่แถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทำเลที่ประตูหน้าบ้านตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเพียง 140 เมตรเท่านั้น

Thomas Juul-Hansen

ด้วยที่ดินที่มีทำเลที่มีความพิเศษและยอดเยี่ยมแปลงนี้ เราจึงต้องการที่จะสร้างอาคารที่มีความโดดเด่น ให้เป็นที่จดจำในระดับสากลอย่างแท้จริงยงยุทธกล่าวการที่จะทำแบบนั้นได้ เราต้องมีทีมที่รวมเอาคนทำงานในระดับนานาชาติที่จะช่วยทำให้วิสัยทัศน์ของเราสมบูรณ์แบบ ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะทำงานกับ Kohn Pedersen Fox (KPF) และ Thomas-Juul Hansen” KPF รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านงานสถาปัตยกรรมของโครงการ และพวกเขาก็เป็นหนึ่งในบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางจากผลงานออกแบบโครงการที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมและกลายเป็นแลนด์มาร์คของเมืองมากมายในซีกโลกตะวันตก รวมไปถึงพื้นที่เมืองที่กำลังเติบโตของประเทศตะวันออกในช่วงเวลาไม่นานมานี้ โครงการนี้ยังเป็นการทำงานร่วมกับ Thomas Juul-Hansen นักออกแบบตกแต่งภายในชื่อดัง ที่เป็นที่รู้จักจากแนวทางการออกแบบที่ตอบสนองกับความหรูหราได้อย่างเรียบง่ายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากผลงานออกแบบในหลายประเทศทั่วโลก อาทิเช่น ผลงาน ONE57 ที่เป็นอพาร์ทเมนท์ที่มีสถิติราคาสูงที่สุดในนิวยอร์คนับถึงเดือนมกราคม 2562 ด้วยยอดการขายที่พักอาศัยอยู่ที่ราคา 3,140 ล้านบาท (100.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและทะเยอทะยานนี้ เมื่อรวมกับทีมงานนักออกแบบระดับโลก และแนวความคิดของความหรูหราเฉพาะตัว SCOPE Langsuan จึงเป็นโครงการที่พร้อมปักหมุดหมายสำคัญ ไม่ใช่เพียงโครงการที่อยู่อาศัยที่หรูหราอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ตั้งใจให้เป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในระดับสากลอย่างแท้จริง

  • HUDSON YARDS New York © Connie Zhou

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

LEGO HOUSE | GUARDIAN GLASS

BIG ออกแบบโปรเจ็คต์ LEGO House โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของตัวต่อเลโก้ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และภายในบริเวณห้องนิทรรศการที่มีการใช้ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ดึงแสงธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่จัดแสดง เผยรายละเอียดและสีสันของผลงานตัวต่อ LEGO ให้เด่นชัดมากขึ้น

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: IWAN BAAN

(For English, press here)

หลายคนเติบโตมากับ LEGO และคุ้นเคยกับการประกอบตัวต่อต่างๆ ที่เป็นระบบ modular ที่สามารถต่อประกอบกันได้ไม่รู้จบ และในหลายครั้งของเล่นที่ชื่อนี้ LEGO กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมขนาดย่อม ที่เราสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้โดยง่ายจากการประกอบตัวต่อไปเรื่อยๆ อย่างอิสระ ซึ่งนี่เป็นเหมือนที่มาของแนวความคิดในการออกแบบ LEGO House โดยผู้ออกแบบ BIG ได้สร้างอาคารเสมือนกับว่า ถูกประกอบร่างขึ้นมาจากตัวต่อ LEGO จริงๆ

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Billund ประเทศ Denmark ที่เป็นจุดกำเนิดของ LEGO ซึ่งมุ่งหวังให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของเยาวชนในอนาคต LEGO House ทำหน้าที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง ไปพร้อมกับพื้นที่ภายในกว่า 12,000 ตารางเมตร ที่บอกเล่าเรื่องราวทุกแง่มุม จากของเล่นชิ้นโปรดตลอดกาลของใครหลายคน ตลอดจนสามารถเห็นถึงเอกลักษณ์ที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ รูปร่างอาคารที่ถูกออกแบบให้เหมือนตัวต่อสีขาวขนาดใหญ่ถูกนำมาประกอบ ตั้งซ้อนเรียงกัน จนเกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดนเด่นเช่นนี้

จากภายนอก หากมองจากระดับปกติ ผู้ใช้งานจะมองเห็นอาคารสีขาวที่เป็นเสมือนกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายสัดส่วนของตัว LEGO ตั้งเรียงกัน ไล่ระดับขึ้นไป โดนมีทั้งส่วนที่ปิดทึบด้วยผนังสีขาว และส่วนที่เปิดมุมมองจากภายในสู่ภายนอกด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ แต่หากมองจากด้านบน บนดาดฟ้าของอาคารแต่ละก้อน ถูกออกแบบให้มีสีสันที่แตกต่างกันคล้ายกับสีของตัวต่อ LEGO เพื่อรองรับกิจกรรมกลางแจ้งที่เป็นสนามเด็กเล่น และสีต่างๆ ก็นำเสนอผ่านการแบ่งโซนของกิจกรรมการเรียนรู้ของแต่ละส่วนใน Museum ส่วนพื้นที่ภายในอาคารนั้นประกอบไปด้วย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของ ห้องนิทรรศการ พื้นที่การเรียนรู้และเล่นที่สามารถลำดับการเรียนรู้ได้ตาม สีต่างๆ ที่ถูกออกแบบไว้เป็นอย่างดี

โถงกลางของอาคารถูดจัดแสดงด้วย LEGO ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมด้วยบันได และแสงธรรมชาติที่ถูกส่องผ่านลงมาจาก skylight เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับโถงอาคาร และอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฮไลต์สำคัญ คือห้องจัดแสดงงาน LEGO คอลเลคชั่นพิเศษต่างๆ โดยภายในห้องได้ถูกออกแบบให้มีช่องแสง skylight วงกลม จำนวน 8 จุด เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตัวต่อ LEGO ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านบนที่เป็นดาดฟ้า โดยกระจกที่เลือกใช้นั้นคือ SunGuard® Extra Selective SNX 60/28 ที่สามารถรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้ถึง 60% และยังป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาในอาคารเพียง 28% เท่านั้น ซึ่งช่วยให้พื้นที่ภายในนั้นมีความสว่าง โปร่ง เย็นสบาย รวมทั้งให้ความชัดเจนในการจัดแสดงชิ้นงานภายในอาคาร

ซึ่งกระจกนั้นถูกผสานเข้ามาในหลายๆ ส่วน ทั้งผนังอาคาร ราวกันตก ที่เลือกใช้กระจกเพื่อความโปร่งของพื้นที่ แต่ยังคงความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ช่วยให้พื้นที่ส่วนๆ ต่างเชื่อมโยงถึงกันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ภายในได้เป็นอย่างดี

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com