All posts by Ratchadaporn Hemjinda

NEORIENT BY PODIUM

Podium แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทยเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่แห่งปี 2021-2022 ที่ได้ Atelier 2+ มาร่วมออกแบบภายใต้แนวคิด “The timeless design of East and West” จนเกิดเป็นเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบที่เป็นสากล แต่คงกลิ่นอายของความเป็นตะวันออกไว้อย่างชัดเจน

Read More

DISCOVERED

แนะนำ 5 นักออกแบบจากประเทศไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน จากโครงการ Discovered โดย AHEC และนิตยสาร Wallpaper* ที่ร่วมนำงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่สะท้อนตัวตนและภูมิหลังด้านสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์ มาจัดแสดงในโชว์เคส Made in isolation ณ Design Museum กรุงลอนดอน

Read More

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

ELBPHILHARMONIE HAMBURG | GUARDIAN GLASS

Herzog & de Meuron สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ ‘Elbphilharmonie Hamburg’ ปรับปรุงคลังสินค้าเก่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ด้วย façade กระจกผิวโค้งมน 3 มิติ ที่เกิดจากการร่วมพัฒนากับ Guardian Glass เป็นครั้งแรก

TEXT: WARUT DUANGKAEWKART
PHOTO: CORDELIA EWERTH

(For English, press here)

Elbphilharmonie Hamburg เป็นหนึ่งในอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงาม และมีระบบการออกแบบ Acoustic ที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลกอย่าง Herzog & de Meuron เจ้าของรางวัล Prizker Prize เมื่อปี 2001 ที่มีแนวทางการออกแบบในการประยุกต์ การผสมผสานสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาของอาคาร และเทคโนโลยี แต่ยังแสดงถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รวมทั้งอาคารหลังเก่าก็ช่วยสร้างให้เกิดความพิเศษขึ้นมา เดิมที่พื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งคลังสินค้าหลวง (Kaispeicher) โดยทางรัฐบาลมีแนวคิด ที่จะพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะการออกแบบจึงเริ่มต้นจากการรักษาอาคารคลังสินค้าเก่าและสร้างโครงสร้างใหม่ต่อยอดขึ้นไปด้านบน เกิดเป็นการผสมผสานระหว่างอาคารก่ออิฐและอาคารผิวกระจกที่มีความน่าสนใจอย่างมาก จากด้านล่างที่พื้นที่ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน ห้อมล้อม และผ่านตัวอาคารคลังสินค้าเก่านี้ ก่อนที่จะขึ้นไปพบกับฟังก์ชั่นที่หลากหลายด้านบน ทั้งโรงแสดงดนตรี ร้านอาหาร บาร์ อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รวมถึงดาดฟ้าที่สามารถชมวิวท่าเรือของเมือง Hamburg ได้

ใจความสำคัญของโครงการคงหนีไม่พัน ส่วนขยายต่อเติมที่เป็นอาคารกระจกด้านบนที่ถูกออกแบบให้มีความสุนทรียศาสตร์เพื่อให้สอคล้องไปกับฟังก์ชั่นที่เป็นโรงแสดงดนตรี โดยนำเส้นโค้งและการบิดตัวของพื้นผิวต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งาน สื่อถึงความเป็นท่าเรือโดยได้แรงบันดาลใจมากจากผ้าใบเรือ และรูปลักษณ์ของคลื่นบนพื้นผิวของ façade ขนาดพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร ไม่บ่อยครั้งนักที่วัสดุที่เราคุ้นชินอย่างกระจกจะถูกนำมาดัดโค้งบิดรูปจนเกิดเป็นพื้นผิวที่โค้งมน 3 มิติ ทำให้สถาปนิกนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระเพื่อให้ใกล้เคียงกับแนวความคิดมากที่สุด โดยได้พัฒนาร่วมกัน Guardian Glass เพื่อมองหาความเป็นไปได้นี้

ความน่าสนใจคือการสร้างกระจกที่บิดตัวเป็นแบบ 3 มิติ ที่ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ ผ่านการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะรักษารูปแบบของกระจกพร้อมกับคงคุณสมบัติของกระจกแต่ละประเภทไว้ ทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร การป้องกันความร้อนเข้าสู่พื้นที่ภายใน โดยในโครงการนี้ได้เลือกใช้กระจกอย่างรุ่น Extra Clear, ClimaGuard®, SunGuard® มาผสมผสานกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสำหรับงานสถาปัตยกรรมแล้ว การพัฒนาในแง่ของวัสดุครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในงานออกแบบต่างๆ ในอนาคต

สามารถดูข้อมูลสินค้าอะคูสติกลามิเนตหรือสนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 
Official Website / https://www.guardianglass.com/ap/en

Official Facebook / https://www.facebook.com/guardianglassap
Email / guardiansupport@guardian.com

TAK EXCLUSIVE COLLECTION

TAK เปิดตัวผลิตภัณฑ์ลามิเนตคอลเล็คชั่นใหม่ของ Lamitak, Dekodur และ O2 Plus รวมถึงผลิตภัณฑ์ Creative color board ของ Forescolor ที่มีดีไซน์อันสวยงาม และกระบวนการผลิตอันโดดเด่น ตอบรับกับเทรนด์ปัจจุบันทั้งในแง่สุนทรียะ สุขภาวะ และความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

Read More

PHOTO ESSAY : SCALA IN MY MEMORY

TEXT & PHOTO: AMATA LUPHAIBOON

(For English, press here)

ผมรู้จักสกาลาครั้งแรกตอนอยู่ ม.4  สมัยนั้นที่เตรียมอุดมจะไม่มีเรียนทุกบ่ายวันศุกร์ เวลาช่วงนั้นเป็นเวลาทองที่ผมจะตระเวนดูหนัง นอกจากโรงแถวๆ สยามสแควร์ เช่น สกาลา สยาม ลิโด และแมคเคนน่าแล้ว ก็จะมีโรงวอชิงตันบนสุขุมวิทที่เป็นทางผ่านรถเมล์กลับบ้าน ผมคุ้นเคยกับสกาลาเหมือนเพื่อนรุ่นเดียวกัน สกาลาเปิดใช้ในปีเดียวกับปีที่ผมเกิด ตอนอยู่เตรียมอุดมผมจะดูหนังได้เฉพาะวันศุกร์ แต่พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้วสบาย จะดูตอนไหนก็ได้ เดินไปสยามดูหนังกลับมาเรียนต่อก็ได้ พอเริ่มทำงาน ผมก็จะมาดูหนังแถวนี้แทบทุกอาทิตย์ ดูหนังเสร็จก็กินข้าวนิวไลท์ ซ้ำ routine นี้เป็นร้อยๆ ครั้ง 

เวลาผ่านไป โรงหนัง standalone ก็ทยอยปิดไปทีละโรง จนปี 53 โรงหนังสยามไฟไหม้ ก็เหลือแต่ลิโด สกาลาเท่านั้น ลิโดพยายามปรับสู้โรงแบบ multiplex โดยแบ่งเป็น 3 โรงเล็ก โรงสวยน้อยลงแต่ก็มีหนังให้เลือกมากขึ้น สกาลาก็จะได้ฉายหนังที่เพิ่งเข้าหรือหนังที่น่าจะมีคนดูเยอะหน่อย คือถ้าเลือกได้ก็จะดูสกาลาเพราะชอบ ritual ของการเดินขึ้นบันได รอซื้อตั๋ว ซื้อขนม แล้วเข้า foyer ไปรอคนดูรอบก่อนหน้าเดินออกมา ชอบสังเกตุดูสีหน้าคนที่กำลังเดินออก จะชอบเดาว่าใครชอบ ใครบ่น ใครหลับ พี่ๆ น้าๆ ที่สกาลาและลิโดบางคนก็จำผมได้ น้าที่ขายขนมรู้ว่าผมชอบซื้อโคลอนและน้ำเปล่าก่อนเข้าโรง พี่ที่ขายตั๋วก็รู้แถวที่นั่งประจำของผม ในวันที่ลิโดฉายหนังวันสุดท้ายผมก็ได้ไปไหว้ลาพี่ๆ น้าๆ ทุกคน บางคนบอกว่าคงไม่ตามไปทำต่อที่สกาลาแล้วเพราะคนเยอะเกินงาน จะกลับไปต่างจังหวัดอยู่กับลูกหลาน จริงๆ แล้วในคืนสุดท้ายของลิโดคืนนั้น หลายๆ คนก็คงแอบคิดแล้วว่าคงถึงคิวของสกาลาในอีกไม่นาน

ในหลายๆ ปีที่ผ่านมามีความพยายามของหลายกลุ่มที่พยายามทำให้คนทั่วไปเห็นถึงความสำคัญและความงามของสกาลา ด้วยหวังว่าเจ้าของที่จะมองเห็น หรือประชาชนจะสนับสนุนเป็นวงกว้าง เผื่อจะต่อชีวิตสกาลาจะได้อีกหลายๆ ปี เช่นหอภาพยนตร์ก็จัดโปรแกรม ‘ทึ่งหนังโลก’ เอาหนังคลาสสิกมาฉาย ในวันที่ Godfather ฉาย มีคนดูล้นโรง คนดูต้องนั่งบนบันได มีคุณย่าคุณยายมาดูพร้อมกับลูกหลาน คนทุก generation มาร่วมประสบการณ์ดูภาพยนตร์ด้วยกันที่นี่ สกาลาครึกครื้นมีชีวิตที่สุดในบ่ายวันนั้น เมื่อสองปีก่อน เพื่อนๆ lighting designer ก็จัด ‘The Wall’ lighting installation ทุกครีบเสา ดาวบนฝ้า ถูกเน้นด้วยแสงไฟจนคมสวย โถง foyer ได้รับการขับด้วยไฟสีทั้งที่ผนังและฝ้าเพดาน ในโรงก็มี lighting installation ที่เข้ากับดนตรีที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นพิเศษ ช่วงนั้นสกาลาสวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา มีคนไปชมไปถ่ายรูปถ่ายคลิปลง social กันมากมาย ทำให้พวกเรามีความหวังขึ้นมาอีกนิดนึง

ผมทำ presentation แสดงถึงความสำคัญของสกาลาทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม พยายามแสดงแนวทางการเก็บอาคารนี้ไว้โดยปรับการใช้สอยและโปรแกรมให้ร่วมสมัย เพราะรู้ดีว่าจะคงเป็นโรงหนังฉายหนังแบบเดิมไม่ได้ตลอดไป เพิ่มความเป็นไปได้ของการหารายได้ และประเภทของ retail ที่เสริมกับโรงหนัง รวมทั้งตัวอย่างของโรงหนัง standalone ทั่วโลกที่ปรับตัวและ sustainable ในที่สุด ผมเอาเข้าไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เขาก็รับฟัง แต่มองไปที่ตาก็รู้ว่าสิ่งที่เราพยายามสื่อมันผ่านเข้าและออกไปเรียบร้อยแล้ว มันไม่ตรงกับเป้าที่เขาตั้งไว้ตั้งแต่ต้น

หลังจากนั้นไม่นาน โควิดก็มา Apex ก็จำเป็นต้องปล่อยสกาลาไปก่อนกำหนด ของประดับตกแต่งถูกถอดออกไป เหมือนเป็นความตั้งใจของเบื้องบนที่จะให้สกาลาดูโทรมลง ดูด้อยค่าลงเรื่อยๆ เมื่อวันที่จะทุบจะได้ไม่มีคนออกมาต่อต้านกันมากนัก 

จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนที่รักสกาลาด้วยกันส่งรูปสกาลาที่ถูกทุบมาให้ จนถึงวันที่เขียนวันนี้ก็คงไม่มีอะไรหลงเหลือแล้ว ผมคงไม่คร่ำครวญอะไรมากมาย ทุกอย่างมีวันจบของมัน หนังก็มีอวสาน จริงๆ ทางรอดของสกาลาก็ริบหรี่มาหลายปี เหมือนเพื่อนสนิทที่ป่วยหนักมานาน บางวันก็ทรงๆ บางวันก็สดใส เราก็เก็บความจำวันที่เพื่อนคนนี้สวยที่สุด มีชีวิตชีวาที่สุดไว้ก็แล้วกัน

_____________

อมตะ หลูไพบูลย์ เป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง Department of Architecture Co.

TOA COLOR TRENDS 2022

ค้นหาโทนสีแห่งความสุขกับ TOA COLOR TRENDS 2022 การนำเสนอเทรนด์สีประจำปีภายใต้แนวคิด ‘เทรนด์สีแห่งการคิดอย่างรอบครอบเพื่อที่อยู่อาศัย’ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำเสนอสีที่น่าสนใจ แต่ยังเป็นการค้นหาชุดสีที่ตอบโจทย์รูปแบบการอยู่อาศัยในสถานการณ์โรคระบาด และสอดคล้องกับทิศทางการออกแบบยุค The Age of New Normal

Read More

TASTE SPACE

เปิดเบื้องหลังวิธีคิดและประสบการณ​์ของ กิจธเนศ ขจรรัตนเดช นักออกแบบจาก Taste Space ที่มีประสบการณ์ทางด้าน food & beverages มายาวนานโดยเฉพาะงานออกแบบคาเฟ่

Read More

SCG D’COR INTELLIGENT SKIN : REIMAGINE THE FAÇADE DESIGN FOR TOMORROW – INTRODUCTION

art4d ขอชวนมาอุ่นเครื่องกับโครงการ art4d x SCG D’COR Intelligent Skin : Reimagine the façade design for tomorrow ด้วยการฟังแนวคิดการ re-design พื้นที่ประเภทต่างๆ ของสถาปนิกจาก 4 สตูดิโอในโครงการกันแบบสั้นๆ ก่อนที่จะได้พบงานดีไซน์ฉบับสมบูรณ์ในเดือนธันวาคมนี้

Read More

THE EXPERIENCE OF LUXURY | SCOPE LANGSUAN

The SCOPE Langsuan นำเสนอมิติใหม่ของความหรูหรา ผ่านการให้คุณค่ากับคุณภาพของสเปซพร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการระดับโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ในทุกนาทีของผู้อาศัยจะถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย

TEXT: JINTAWACH TASANAVITES
PHOTO COURTESY OF SCOPE LANGSUAN

(For English, press here)

มูลค่าและคุณค่าของโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับ segment บนนั้นล้วนถูกพิจารณาผ่านปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานอย่างเรื่องทำเลที่ตั้ง การเลือกใช้วัสดุ เอกลักษณ์ของโครงการ หรือชื่อเสียงของแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตของผู้คนมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เอื้อให้วิถีชีวิตของผู้คนมีความยืดหยุ่นขึ้น และหยิบยื่นโอกาสให้ผู้คนใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับบ้านมีความหมายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความเป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยในปัจจุบันนั้น เรียกร้องให้การออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ในยุคปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในระดับบนนั้นเผชิญกับความท้าทายของการออกจากผลักดันขอบเขตในการออกแบบเดิมๆ ออกไปอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับการค้นหานิยามหรือนวัตกรรมที่โครงการใหม่ๆ ควรจะมอบให้กับกลุ่มลูกค้า ในปัจจุบันที่การเลือกใช้วัสดุหรือข้าวของราคาแพงเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของโครงการนั้นกำลังถูกตั้งคำถามอย่างเข้มข้น มิติของความหรูหราได้ก้าวห่างออกจากมิติของมูลค่าที่แสดงออกผ่านทางกายภาพของวัตถุ และเคลื่อนที่เข้าสู่คุณสมบัติอันเป็นนามธรรมหรือมิติในเชิงคุณค่าอย่างเช่นเรื่องเวลา คุณภาพของสเปซ และประสบการณ์ที่มีความหมายอย่างแท้จริงกับผู้อยู่อาศัย อาจกล่าวได้ว่าการสร้างสรรค์ความหรูหราในนิยามใหม่นี้คือการสร้างความสมดุลระหว่างดินแดนของมูลค่าและคุณค่า และการนำเสนอประสบการณ์ของพื้นที่อยู่อาศัยในทำเลที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ และในขณะเดียวกันก็อาจจะหาไม่ได้อีกแล้วอย่างหลังสวน การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่มีไม่มีคำถามในเรื่องของคุณภาพในระดับสากล เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่จะคงมูลค่าอยู่เหนือกาลเวลา ของโครงการ Scope หลังสวน คือความพยายามในการสร้างความสมดุลนี้ให้เกิดขึ้นในทุกแง่มุม

“เวลาคือความหรูหราที่แท้จริง” Forth Bagley หัวหน้าทีมจาก KPF (Kohn Pedersen Fox) ปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับโครงการ Scope หลังสวน กล่าวอย่างไม่ลังเล “เมื่อเราพิจารณาถึงมิติของเวลาที่สร้างขึ้นจากงานสถาปัตยกรรม มันหมายถึงการออกแบบพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเติมพลังกายพลังใจ ได้ใช้ความคิด เป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดเวลาอันมีค่า นี่เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มพัฒนาผังและกำหนดโปรแกรมการใช้งานต่างๆของอาคารกับเจ้าของโครงการ” 

ในขณะเดียวกัน ทีมงาน KPF ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับการสร้างลำดับขั้นของการเข้าถึง ซึ่งส่งผลกับการรับรู้และการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกพักผ่อนและเป็นส่วนตัวในทันทีที่ผู้อยู่อาศัยก้าวเท้าเข้าไปภายในโครงการ องค์ประกอบทางการออกแบบในภาพรวม ที่จะได้รับการกล่าวถึงในเชิงลึกต่อไปในซีรีส์งานเขียนนี้ ทำงานสอดประสานกันในการสร้างความรู้สึกสงบสุข เพื่อสร้างพื้นที่ที่นำมาซึ่งความสงบเป็นส่วนตัว และให้ผู้พักอาศัยได้ใช้เวลาอย่างผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอกอย่างแท้จริง ‘เจ้าของร่วมของโครงการ Scope หลังสวน คือกลุ่ม International Premium เราเชื่อว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่เลือกพักในโรงแรมที่ดีที่สุดเมื่อเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก” Forth บอกกับ art4d “ความคาดหวังต่างๆที่พวกเขามีภายหลังจากการได้เข้าไปสัมผัสพื้นที่และประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง จึงเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเขาเลือกบ้านของตัวเอง ประสบการณ์เหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากพื้นที่อยู่อาศัยของตัวเองเช่นเดียวกัน”

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ได้รับความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบของโครงการนี้ก็คือการให้บริการเสริมต่างๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องการดูแลที่พักอาศัยในแต่ละวัน เพื่อช่วยประหยัดเวลาอันมีค่า ซึ่งมีผลต่อสมดุลที่ดีในการใช้ชีวิต และเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ‘เวลา’ ทุกนาทีถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย บนพื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตรของโครงการได้รับการออกแบบให้มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการระดับโลกที่สร้างความมั่นใจว่าประสบการณ์การอยู่อาศัยของเจ้าของโครงการนั้นจะมีความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการจอดรถ การดูแลสัมภาระตลอด 24 ชั่วโมง และบริการอื่นๆ ในระดับเดียวกับการเข้าพักในโรงแรมชั้นเลิศ

เส้นแบ่งระหว่างการออกแบบประสบการณ์ของการอยู่อาศัยกับความรู้สึกของการพักผ่อนเมื่อเดินทางกำลังจางลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมืองที่มีวิถีชีวิตที่ตารางเวลาอัดแน่นไปด้วยการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ทีมงานระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังโครงการ Scope หลังสวนแห่งนี้ล้วนตระหนักดีว่า ทิศทางที่พวกเขาเลือกในการออกแบบนั้นล้วนเป็นไปเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมั่นใจได้ว่า ประสบการณ์ที่พวกเขาจะได้รับจากการใช้เวลาอยู่อาศัยที่นี่นั้น จะเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง และมีความหมายอย่างแท้จริง

scopecollection.com 
facebook.com/scopecollection