Tag: photography

PHOTO ESSAY : LATE WINTER RAIN

TEXT & PHOTO: CHANAPONG SRIWEERAPONG

(For English, press here)

เส้นทางขึ้นเขาภูกระดึง เป็นเส้นทางที่ลำบาก ต้องใช้ความอดทนอยู่พอสมควร แต่พอถึงจุดหมายแล้วก็รู้สึกว่าคุ้มเหนื่อยอยู่เหมือนกัน ที่ได้ขึ้นมาเจอธรรมชาติที่เปลี่ยนไปทุกฤดูกาล ซึ่งแต่ละฤดูก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน

_____________

ชนะพงษ์ ศรีวีรพงศ์ ทำงานเป็น video editor และ photographer อยู่ที่บริษัทออกแบบภายใน DUDE DECORATE ชอบงานศิลปะ ชอบธรรมชาติ

instagram.com/best.sri6

PHOTO ESSAY : STAY AT HOME 2020

TEXT & PHOTO: THANACHAI TANKVARALUK

(For English, press here)

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงกับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม ด้วยกฎ ข้อบังคับ และมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด จึงทำให้ผู้คนต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก เพื่อให้เข้ากับการดำเนินชีวิตแบบปกติในวิถีใหม่ ภาพถ่ายชุดนี้จึงเป็นการเก็บบันทึกความทรงจำและสะท้อนเรื่องราวรอบตัว ที่แอบซ่อนความงดงามและความสดใสผ่านความเรียบง่ายและความธรรมดา ในขณะที่ห้วงเวลาและบรรยากาศทางสังคมอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการปรับตัวในการดำเนินชีวิตประจำวันแบบวิถีใหม่ จนกระทั่งรู้ตัวอีกที ทุกอย่างก็กลายเป็นความปกติสุขของชีวิต พร้อมกับความหวังอันแสนสดใสว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลาย และผ่านพ้นไปจนกลับเข้าสู่สภาวะปกติในเร็ววัน

_____________

ธนะชัย ตั้งวราลักษณ์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษา ปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันประกอบธุรกิจส่วนตัว มีความสนใจเรื่องราวรอบๆ ตัว รักการเดินทาง และการถ่ายภาพ

instagram.com/thanachai_diary
facebook.com/profile.php?id=100031795672130

PHOTO ESSAY : 365OHMANAWAT

TEXT & PHOTO: ANAWAT PETCHUDOMSINSUK

(For English, press here)

ความรู้สึกที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เริ่มต้นทำสิ่งไหนก็มักหยุดความพยายามภายในไม่กี่วัน คือจุดกำเนิดของโปรเจค 365ohmanawat เป็นการถ่ายภาพ Still Life วันละ 1 ภาพทุกวันเป็นเวลา 365 วัน เพื่อพิสูจน์ความต่อเนื่องในการลงมือทำอะไรสักอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน โดยใช้ความถนัดจากวิชาชีพช่างภาพอาหารที่ทำอยู่สร้างผลงานที่ใช้ไอเดียและเทคนิคการถ่ายภาพให้แตกต่างจากปกติที่เคยทำ 

เนื่องจากงานปกติที่ทำคือการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาทั้งสินค้าและอาหาร ซึ่งมักโดนบิดเบือนความจริงเพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบ พอนานวันก็เกิดเป็นความเบื่อในงาน ทำให้อยากลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำหรือสิ่งที่แตกต่างจากที่เห็นได้โดยทั่วไป ภาพบางภาพจึงอาจสร้างความรู้สึกกระอักกระอ่วนให้กับผู้ชม ที่ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามกับความต้องการในงานโฆษณาปกติ

และเพราะต้องการเปิดโอกาสให้ได้ลองทำ จึงไม่มีการตั้งข้อจำกัดทางเนื้อหาและเทคนิค ภาพในโปรเจคนี้จึงมีความหลากหลายสูง บางภาพอาจเกิดจากความไม่พอใจในสังคมบางเรื่อง, สิ่งของในชีวิตประจำวันผสมกับอาหารที่หาได้ทั่วไป หรืออาจจะแค่อยากลองฝึกเทคนิคที่พบเห็นในสื่อที่เราไม่เคยทำมาก่อน

_____________

อนวัช เพชรอุดมสินสุข (Anawat Petchudomsinsuk) ช่างภาพอาหาร Freelance ผู้รักใน Meme และความกวนประสาท

fb.com/FPCWL

instagram.com/ohm.anawat

ohm-anawat.com

NAKROB MOONMANAS

art4d สนทนากับ นักรบ มูลมานัส ว่าด้วยการไปเป็นศิลปินในพำนัก 1 ปีในกรุงปารีส และการสำรวจอาณาบริเวณใหม่ทั้งในตัวงานและในตัวเอง

Read More

PHOTO ESSAY : BETWEEN US

TEXT & PHOTO: KUNLANATH SORNSRIWICHAI

(For English, press here)

ผมคิดที่จะสอนลูกสาวให้มีทักษะใหม่ๆ เพิ่มเติม สอนกันวันนี้ เรียนตอนนี้เลย ทำได้เลย ไม่มีผิดถูก ไม่มีกฎเกณฑ์ อยากทำก็ทำ ถ้าทำแล้วดีมีความสุขก็ทำต่อไป ก็เลยหยิบกล้องออกไปถ่ายรูปและกลับมาพร้อมรูปและเรื่องราวมากมาย

“สิ่งรอบๆ ตัวมีความน่าสนใจอยู่เสมอ ลองมองหาดู มุมมองของแต่ละคนก็มองไม่เหมือนกันอีก สนุกดีนะลูก”

นับจากวันนั้นผ่านมาเกือบสี่เดือน สิ่งที่ทำมันสนุกและมีความสุขจริงๆ

_____________

กุลนาถ ศรศรีวิชัย เรียนครูศิลปศึกษา ทำงานออกแบบ ชอบศิลปะ งานออกแบบ และความเงียบในสวนเย็น, แม่แตง

facebook.com/kunlanathtua

PHOTO ESSAY : SCALA IN MY MEMORY

TEXT & PHOTO: AMATA LUPHAIBOON

(For English, press here)

ผมรู้จักสกาลาครั้งแรกตอนอยู่ ม.4  สมัยนั้นที่เตรียมอุดมจะไม่มีเรียนทุกบ่ายวันศุกร์ เวลาช่วงนั้นเป็นเวลาทองที่ผมจะตระเวนดูหนัง นอกจากโรงแถวๆ สยามสแควร์ เช่น สกาลา สยาม ลิโด และแมคเคนน่าแล้ว ก็จะมีโรงวอชิงตันบนสุขุมวิทที่เป็นทางผ่านรถเมล์กลับบ้าน ผมคุ้นเคยกับสกาลาเหมือนเพื่อนรุ่นเดียวกัน สกาลาเปิดใช้ในปีเดียวกับปีที่ผมเกิด ตอนอยู่เตรียมอุดมผมจะดูหนังได้เฉพาะวันศุกร์ แต่พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้วสบาย จะดูตอนไหนก็ได้ เดินไปสยามดูหนังกลับมาเรียนต่อก็ได้ พอเริ่มทำงาน ผมก็จะมาดูหนังแถวนี้แทบทุกอาทิตย์ ดูหนังเสร็จก็กินข้าวนิวไลท์ ซ้ำ routine นี้เป็นร้อยๆ ครั้ง 

เวลาผ่านไป โรงหนัง standalone ก็ทยอยปิดไปทีละโรง จนปี 53 โรงหนังสยามไฟไหม้ ก็เหลือแต่ลิโด สกาลาเท่านั้น ลิโดพยายามปรับสู้โรงแบบ multiplex โดยแบ่งเป็น 3 โรงเล็ก โรงสวยน้อยลงแต่ก็มีหนังให้เลือกมากขึ้น สกาลาก็จะได้ฉายหนังที่เพิ่งเข้าหรือหนังที่น่าจะมีคนดูเยอะหน่อย คือถ้าเลือกได้ก็จะดูสกาลาเพราะชอบ ritual ของการเดินขึ้นบันได รอซื้อตั๋ว ซื้อขนม แล้วเข้า foyer ไปรอคนดูรอบก่อนหน้าเดินออกมา ชอบสังเกตุดูสีหน้าคนที่กำลังเดินออก จะชอบเดาว่าใครชอบ ใครบ่น ใครหลับ พี่ๆ น้าๆ ที่สกาลาและลิโดบางคนก็จำผมได้ น้าที่ขายขนมรู้ว่าผมชอบซื้อโคลอนและน้ำเปล่าก่อนเข้าโรง พี่ที่ขายตั๋วก็รู้แถวที่นั่งประจำของผม ในวันที่ลิโดฉายหนังวันสุดท้ายผมก็ได้ไปไหว้ลาพี่ๆ น้าๆ ทุกคน บางคนบอกว่าคงไม่ตามไปทำต่อที่สกาลาแล้วเพราะคนเยอะเกินงาน จะกลับไปต่างจังหวัดอยู่กับลูกหลาน จริงๆ แล้วในคืนสุดท้ายของลิโดคืนนั้น หลายๆ คนก็คงแอบคิดแล้วว่าคงถึงคิวของสกาลาในอีกไม่นาน

ในหลายๆ ปีที่ผ่านมามีความพยายามของหลายกลุ่มที่พยายามทำให้คนทั่วไปเห็นถึงความสำคัญและความงามของสกาลา ด้วยหวังว่าเจ้าของที่จะมองเห็น หรือประชาชนจะสนับสนุนเป็นวงกว้าง เผื่อจะต่อชีวิตสกาลาจะได้อีกหลายๆ ปี เช่นหอภาพยนตร์ก็จัดโปรแกรม ‘ทึ่งหนังโลก’ เอาหนังคลาสสิกมาฉาย ในวันที่ Godfather ฉาย มีคนดูล้นโรง คนดูต้องนั่งบนบันได มีคุณย่าคุณยายมาดูพร้อมกับลูกหลาน คนทุก generation มาร่วมประสบการณ์ดูภาพยนตร์ด้วยกันที่นี่ สกาลาครึกครื้นมีชีวิตที่สุดในบ่ายวันนั้น เมื่อสองปีก่อน เพื่อนๆ lighting designer ก็จัด ‘The Wall’ lighting installation ทุกครีบเสา ดาวบนฝ้า ถูกเน้นด้วยแสงไฟจนคมสวย โถง foyer ได้รับการขับด้วยไฟสีทั้งที่ผนังและฝ้าเพดาน ในโรงก็มี lighting installation ที่เข้ากับดนตรีที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นพิเศษ ช่วงนั้นสกาลาสวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา มีคนไปชมไปถ่ายรูปถ่ายคลิปลง social กันมากมาย ทำให้พวกเรามีความหวังขึ้นมาอีกนิดนึง

ผมทำ presentation แสดงถึงความสำคัญของสกาลาทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม พยายามแสดงแนวทางการเก็บอาคารนี้ไว้โดยปรับการใช้สอยและโปรแกรมให้ร่วมสมัย เพราะรู้ดีว่าจะคงเป็นโรงหนังฉายหนังแบบเดิมไม่ได้ตลอดไป เพิ่มความเป็นไปได้ของการหารายได้ และประเภทของ retail ที่เสริมกับโรงหนัง รวมทั้งตัวอย่างของโรงหนัง standalone ทั่วโลกที่ปรับตัวและ sustainable ในที่สุด ผมเอาเข้าไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เขาก็รับฟัง แต่มองไปที่ตาก็รู้ว่าสิ่งที่เราพยายามสื่อมันผ่านเข้าและออกไปเรียบร้อยแล้ว มันไม่ตรงกับเป้าที่เขาตั้งไว้ตั้งแต่ต้น

หลังจากนั้นไม่นาน โควิดก็มา Apex ก็จำเป็นต้องปล่อยสกาลาไปก่อนกำหนด ของประดับตกแต่งถูกถอดออกไป เหมือนเป็นความตั้งใจของเบื้องบนที่จะให้สกาลาดูโทรมลง ดูด้อยค่าลงเรื่อยๆ เมื่อวันที่จะทุบจะได้ไม่มีคนออกมาต่อต้านกันมากนัก 

จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนที่รักสกาลาด้วยกันส่งรูปสกาลาที่ถูกทุบมาให้ จนถึงวันที่เขียนวันนี้ก็คงไม่มีอะไรหลงเหลือแล้ว ผมคงไม่คร่ำครวญอะไรมากมาย ทุกอย่างมีวันจบของมัน หนังก็มีอวสาน จริงๆ ทางรอดของสกาลาก็ริบหรี่มาหลายปี เหมือนเพื่อนสนิทที่ป่วยหนักมานาน บางวันก็ทรงๆ บางวันก็สดใส เราก็เก็บความจำวันที่เพื่อนคนนี้สวยที่สุด มีชีวิตชีวาที่สุดไว้ก็แล้วกัน

_____________

อมตะ หลูไพบูลย์ เป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง Department of Architecture Co.

PHOTO ESSAY : BANGKOK DEEMED

TEXT & PHOTO: CHATCHAVAN SUWANSAWAT

(For English, press here)

ตั้งแต่เด็กจนโต เราอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แบบที่ว่าไม่ได้เคยย้ายไปไหน ตอนเด็กเราถูกเลี้ยงไว้แบบไข่ในหินไม่ให้ออกนอกบ้าน จนกระทั้งเติบใหญ่กลายเป็นว่าปมในวัยเด็กนั้น สร้างความเก็บกดที่อยากจะออกเดินดูกรุงเทพฯ ให้ได้มากที่สุดในวัยผู้ใหญ่ 

ปัจจุบันการได้ออกเดินในช่วงหยุดสุดสัปดาห์นั้นเป็นความสนุกตื่นเต้นและเสพติด เราชอบเดินไปเรื่อยๆ มีจุดหมายบ้างไม่มีบ้าง และมันนำเราไปสู่พื้นที่และสิ่งของที่แปลกตา ที่ล้วนเกิดจากผู้คนรวมถึงต้นไม้ใบหญ้าที่ประกอบเข้าด้วยกันแบบไม่ตั้งใจ และต่างดิ้นรนให้มีชีวิตต่อไปอยู่ในเมืองที่ผู้คนคิดว่ารักและเกลียดนี้

_____________

ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ เป็นสถาปนิกและนักเขียน (บ้างไม่เขียนบ้าง) ผู้เขียนหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ ที่พูดถึงความไทยๆ ผ่านสิ่งของงานออกแบบของผู้คนในเมือง ปัจจุบันก่อตั้ง Everyday Architect & Design Studio เพื่อทำงานสถาปัตย์ที่เกี่ยวข้องความสนใจเรื่องไทยๆ 

facebook.com/everydayarchitectdesignstudio
facebook.com/viewtiful.chat
instagram.com/chutcha_crowbar

WE SEE OUR SOULS BETTER IN THE DARK

TEXT & PHOTO: WAN CHANTAVILASVONG

(For English, press here)

เดินทางคนเดียวในวันที่ฟ้าครื้มไปด้วยเมฆและฝนพรำ ความสงัดตกลงท่ามกลางหมู่ถ้ำอชันตา มรดกโลกที่พระสงฆ์เคยใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมกว่าพันปีที่ผ่านมา ถ้ำและโครงสร้างเหล่านี้เป็นส่วนที่เหลือไว้จากการขุดของมนุษย์ ยิ่งขุดลึกเข้าไปในภูเขามากเท่าไหร่ แสงสว่างก็จะลดเหลือน้อยนิดและเลือนลางลง พื้นที่อันมืดมิดเหล่านั้นคือที่ตั้งของห้องเล็กๆ รายล้อมโถงกลาง เป็นช่องว่างอันมืดมิดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมเห็นซึ่งธรรมชาติของจิตใจตนเอง

ในพื้นที่อันมืดมิดนั้นเองที่ช่างอนุรักษ์กำลังส่องไฟดวงน้อยเพื่อคอยต่อชีวิตให้กับช่องว่างแห่งการเข้าใจธรรมชาติของจิตใจ

_____________

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ นักวางแผนเมืองและนักวิจัย ผู้มีการถ่ายภาพเป็นการเล่นที่จริงจัง ภาพถ่ายของว่านมักเป็นการถ่ายทอดความคล้ายและความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

facebook.com/wan.chtvlv
wanchantavilasvong.squarespace.com

PHOTO ESSAY : BANGKOK URBAN STORIES

TEXT & PHOTO: HIROTARO SONO

(For English, press here)

ผมมักพยายามมองหาเรื่องราว เวลาที่ผมเดินผ่านพื้นที่ต่างๆ ในเมืองอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และผู้คน

“ทำไมพื้นที่นี้ถึงดูน่าสบายจัง?” “อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้บรรยากาศของพื้นที่เป็นแบบนี้กันนะ?”

พื้นที่เมืองถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มันจึงเต็มไปด้วยความคิดของผู้คนหลากหลาย
และปริมาณที่มากมายของความคิดนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจในทันทีทันใด
ดังนั้นแล้ว หากเราต้องการที่จะรู้สึกสนุกไปกับการเดินเล่นภายในเมือง เราต้องตั้งใจมองหาและจับความคิดและเรื่องราวอันแตกต่างกันไปของพื้นที่เมือง

ผมถ่ายภาพเวลาที่ผมสังเกตเห็นเรื่องราวบางอย่าง
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจการออกแบบสถาปัตยกรรม
เพื่อความสุขของตัวผมเองที่จะได้ร่วมแบ่งปันมันกับผู้อื่น

นี่คือมุมมองของผม
และนี่ก็คือกรุงเทพฯ ของผม

_____________

Hirotaro Sono (Hiro) คือช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่จับภาพและแบ่งปันอารมณ์ของพื้นที่และผู้คน เขายังเป็นสถาปนิกที่ออกแบบความรู้สึกของพื้นที่และผู้คนด้วยเช่นกัน

hirotarosono.com
instagram.com/sono_thai.jp