LONGER HOUSE
บ้านที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบจากประสบการณ์ทางศิลปะที่ตกตะกอนออกมาสู่พื้นที่ทางสถาปัตยกรรม และยังเป็นเหมือนจุดกึ่งกลางระหว่างฟังก์ชันและ sense of place
‘808080’ (ERROR OBJECTS)
นิทรรศการที่พาเราให้ตั้งคำถามต่อข้าวของเครื่องใช้ที่ความหมายและคุณค่าถูกศิลปิน ‘พร่า’ ‘บิด’ และ ‘เบือน’ ไปให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ (error)
URBAN JOY PLAYGROUND
TEXT: NATHATAI TANGCHADAKORN
PHOTO COURTESY OF ANANDA DEVELOPMENT
(For English, press here)
เมื่อสนามฟุตซอลที่ถูกรีโนเวทโดย ANANDA และพันธมิตร ร่วมกับ กทม. ถูกเติมแต่งลวดลายด้วยกราฟิกสีจัดจ้าน ประกอบกับการใช้เส้นสายที่เลื่อนไหลอย่างอิสระและรูปทรงเรขาคณิต ภาพถ่ายของสนามแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบทางศิลปะสอดแทรกอยู่มากมาย
ความสวยงามของภาพชุดนี้ดูไปแล้วใกล้เคียงกับ minimalist photography ที่เรียบง่าย ทว่าความจริงแล้วมีความหมายของแต่ละสีอัดแน่นบนพื้นสนาม เนื่องจากที่นี่ตั้งใจวางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะของคนเมือง นักออกแบบจึงแฝงความหมายและแรงบันดาลใจเอาไว้ในทุกพื้นที่ และไม่ได้คำนึงถึงแต่ความสวยงามเท่านั้น เช่น สีฟ้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งสบายและความสดชื่น ก็ถูกนำมาเป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Inspire & Urban’ หรือสีแดงที่สร้างความกระตือรือร้น ก็เป็นตัวแทนของคอนเซ็ปต์ ‘Power & Energetic’ เป็นต้น
ความหมายของแพทเทิร์นเหล่านี้มาพร้อมกับความหมายของเส้นที่ถูกตีขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้งาน บ้างก็เป็นเส้นระบุตำแหน่งกึ่งกลางของสนาม บ้างก็เป็นเส้นรอบนอกที่หากผู้ใช้งานก้าวพ้นไปแล้วจะถูกกีดกันจากเกมด้วยกติกา บ้างก็เป็นที่ทุกคนต้องข้ามผ่านเพื่อทำคะแนนสู่ชัยชนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามหรือการใช้งาน ก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนออกมาเป็นกราฟิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งยังคงเป็นสนามฟุตซอล ยังคงเป็นพื้นที่ทางศิลปะ และยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนข้างเคียงออกมาทำกิจกรรมได้โดยไม่บกพร่อง ทำให้ทางเลือกในการออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ของคนในย่านมีตัวเลือกมากขึ้นจากเดิม
BANGKOK UTOPIA: MODERN ARCHITECTURE AND BUDDHIST FELICITIES, 1910 – 1973
หนังสือของ Lawrence Chua ได้นำเสนอประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสภาพแวดล้อมเมืองในกรุงเทพฯ ซึ่งอิงจากความเชื่อทางพุทธศาสนาในระยะเวลาหนึ่งช่วงอายุคน
HOUSE OF BEAVER
จากการออกแบบที่ล้อรับการกัดแทะของตัวบีเวอร์สู่คาเฟ่และร้านอาหารย่านดอนเมือง พื้นที่เสริมสร้างการเรียนรู้และขับเคลื่อนแรงบันดาลใจ โดย vice versa
SUBJECT SUBJECT
สตูดิโอออกแบบประสบการณ์และพื้นที่ภายใน ที่วางเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่กลมกล่อมด้วยทุกองค์ประกอบ โดยใช้ความเรียบง่ายซึ่งแฝงลูกเล่นใหม่ๆ ไว้เสมอ
THE CLOSING EVENT ‘DEPARTED ‹ › REVISITED’
บทสรุปของการรำลึกถึง มณเฑียร บุญมา ที่หอสมุดธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผ่านภาพยนตร์สารคดี งานเสวนา และศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดย นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล Read More
TIME STRETCHED
TEXT & IMAGE: ANTON REPPONEN
(For English, press here)
Time Stretched เป็นการเดินทางสำรวทางทัศนะที่จะพาเราไปค้นหาความเกี่ยวเนื่องอันซับซ้อนของเวลา การเคลื่อนไหว และการรับรู้ของมนุษย์ แต่ละภาพในชุดนี้แช่แข็งช่วงเวลาไว้ในปฏิทรรศน์แห่งเวลา (temporal paradox) สภาพแวดล้อมล้วนถูกบิดเบือนไปในความโกลาหลจากการยืดตัวของเวลา ในขณะที่ตัวละครหลักของภาพกลับไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโครงสร้างแห่งเวลาที่บิดเบี้ยว ผลลัพธ์ที่ได้คือภูมิทัศน์ที่ยืดออก สถาปัตยกรรมที่ผิดรูป และสภาพแวดล้อมเหนือจริงที่สร้างภาพบรรยากาศอันตราตรึง
ภาพแต่ละภาพถูกบันทึกไว้จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ถนนที่วุ่นวายในนิวยอร์กจนถึงภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสีสันของโตเกียว บาร์เซโลนา และกรุงเทพฯ แต่ในโลกของ ‘Time Stretched’ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์จางหายไปจนไม่เหลือความสำคัญ ผู้ชมจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาที่บิดเบี้ยวและเป็นนามธรรม ในโลกแห่งนี้ ตัวละครหลักปรากฏตัวอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่งไม่ไหวติงภายในห้วงเวลาของตนเอง หลุดพ้นจากข้อจำกัดของสถานที่ และดื่มด่ำในปฏิสัมพันธ์ที่น่าหลงใหลและน่าค้นหาของปฏิทรรศน์เวลา
___________________
Anton Repponen เป็นนักออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction design) ที่มีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก เขาร่วมนำทีมสตูดิโอออกแบบชื่อ ‘Anton & Irene’ ที่ดูแลลูกค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันวัฒนธรรมชั้นนำเช่น M+ Museum ในฮ่องกงและ The Met Museum ในนิวยอร์ก ไปจนถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Spotify Netflix และ Google แนวทางการออกแบบของเขาผสมผสานอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ได้อย่างลงตัว สะท้อนถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเป็นมนุษย์และพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของเขาอย่างชัดเจน